วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

 Harddisk(IDE,SATA)







                      Hard disk


       เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ซึ่งมีมาตรฐานหลายแบบด้วยกัน Hard disk หรือ Hard drive เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการเก็บข้อมูลของ Operating system (OS) หรือ Windows นั่นเอง รวมถึงโปรแกรมใช้งานต่างๆและข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ หน่วยความจุของ Hard disk คิดเป็น Gigabyte หรือ GB ปัจจุบันตามท้องตลาดมี Hard disk อยู่สองรูปแบบ คือ รุ่นใหม่เรียกว่า Serial ATA หรือ SATA (บางคนอ่าน ?ซา-ต้า?) และอีกแบบที่มีขายอยู่ก่อนหน้านี้คือแบบ IDE ทั้งสองแบบใช้สายสัญญาณและสายไฟในการเชื่อมต่อที่แตกต่างกัน การเลือกใช้งานต้องตรวจสอบว่าเมนบอร์ดรองรับการทำงานกับฮาร์ดิสค์แบบใดด้วย เรามาดูกันว่าฮาร์ดดิสค์แต่ละแบบมีหน้าตาและรูปแบบการเชื่อมต่อกันอย่างไรบ้าง

IDE (Integrated Drive Electronics) 

แบบแรกคือ IDE เป็นแบบที่มีใชกันมานานมาก จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังหาซื้อมาใช้งานได้อยู่ มีความจุตั้งแต่ 40-500GB ส่วนประกอบที่จำเป็นมีสี่ส่วนด้วยกันคือ IDE Port ที่ตัวเมนบอร์ด, สายสัญญาณ 80 pin IDE, Power connector และตัว hard disk IDE นั่นเอง

                Serial ATA (Advanced Technology Attachment) 
 
       เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน PC Expo ใน New York ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากที่มีการนำเสนอ Parallel ATA (IDE) มากว่า 20 ปี รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆที่ทำให้การอ่านข้อมูลได้เร็วขึ้น และพัฒนาให้เกิดเทคโนโลยี Serial ATA ขึ้นมาแทนที่ฮาร์ดดิสค์แบบ IDE ซึ่งเจ้า Serial ATA มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ มีจำนวน pin น้อยกว่า Parallel ATA การเชื่อมก็จะคล้ายคลึงกับแบบ IDE จะต่างกันก็ตรงหน้าตาของ connector ของสายไฟและสายสัญญาณเท่านั้น 
เมื่อมองดูความแตกต่างทางด้านกายภาพแล้วเราจะเห็นได้ว่า hard disk แบบ IDE และ SATA จะมีการเชื่อมต่อที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงทั้งในเรื่องของ Connector ที่ตัวของ hard disk เองหรือไม่ว่าจะเป็นที่ตัวเมนบอร์ด รวมไปถึงสายสัญญาณและสายไฟที่ใช้ในการเชื่อมต่อด้วย ฉะนั้นหากต้องการซื้อ hard disk มาใช้งานก็ต้องสำรวจก่อนด้วยว่าเมนบอร์ดรองรับการเชื่องต่อกับ hard disk แบบใดด้วย
Connector ที่ตัวเมนบอร์ดของ Interface ทั้สองแบบก็จะมีรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันออกไป ตัว SATA จะกำหนดให้ 1 Connector สามารถต่อฮาร์ดดิสค์ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น ส่วน IDE นั่น 1 Connector เราสามารถเลือกเอาไปต่อฮาร์ดดิสค์หรือซีดีรอมหรือทั้งสองอย่างรวมกันแล้วไม่เกิน 2 ตัวได้ เมนบอร์ดสมัยใหม่ในปัจจุบันนิยมให้ Port SATA มาหลายอัน แต่มักจะให้ IDE มาแค่อันเดียว เพื่อสำหรับต่อ CD-ROM ซึ่งอาจมีปัญหาหาต้องต่อใช้งานรวมกับฮาร์ดดิสค์แบบ IDE ดังนั้นหากจะอัพเกรดเครื่องก็ต้องดูในส่วนนี้ด้วย
สายสัญญาณของฮาร์ดดิสค์แบบ IDE จะมีลักษณะเป็นสาย Parallel หรือที่เรียกกันติดปากว่า "สายแพร" ซึ่งสายแพรที่ว่านี้มีอยู่สองแบบด้วยกัน คือแบบ 40Pin หรือ 40 เส้น และ 80 Pin หรือ 80 เส้น โดยสายแบบ 40 pin นั้นจะนำไปใช้สำหรับ CD Driveและ DVD Drive ส่วน 80 Pin จะใช้กับฮาร์ดดิสค์ ไม่แนะนำให้ใช้งานสลับกัน แม้จะใช้งานได้ก็ตาม

อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้นว่า 1 Connector ของ IDE สามารถต่ออุปกรณ์แบบ IDE ได้สองตัว สายที่ใช้ต่อก็เลยออกแบบให้สามารถอุปกรณ์ได้สองตัวตามที่กำหนด โดยปลายข้างหนึ่งจะถูกเชื่อมต่อเข้าที่เมนบอร์ด (สีฟ้า) และ ที่เหลือจะเชื่อมต่อเข้าที่ตัวอุปกรณ์ IDE ซึ่งก็อาจจะเป็น CD-ROM หรือฮาร์ดดิสค์ก็ได้ โดยเราอาจะต่อเพียงแต่อุปกรณ์ IDE ตัวเดียวหรือสองตัวเพื่อใช้งานร่วมกันก็ได้ แต่มีข้อแม้อย่างหนึ่งว่า ไม่แนะนำให้ต่อ CD-ROM กับ ฮาร์ดดิสค์ ใช้งานร่วมกัน เพราะจะทำให้ความเร็วในการทำงานของฮาร์ดดิสค์ลดลง ควรต่ออุปกรณ์ IDE ชนิดเดียวกันไว้ด้วยกันเท่านั้น ในการเชื่อมต่อสาย เนื่องจากว่ามีอุปกรณ์ต่อร่วมกันอยู่กับสายเส้นเดียวกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดการทำงานของอุปกรณ์ออกเป็น Master และ Slave เพื่อระบุตัวอุปกรณ์สำหรับทำงาน ดังนั้นเวลาต่อสายเราต้องคำถึงด้วยว่าเราได้กำหนดให้อุปกรณ์ตัวใดเป็น Master และ Slave เพื่อให้อุปกรณ์สามารถทำงานได้ 
ฮาร์ดดิสค์แบบ IDE จำเป็นต้องการ Set Jumper เพื่อระบุการทำงานของอุปกรณ์ว่าเป็นแบบ Master หรือ Slave โดยปกติ จะมีการระบุรูปแบบของการ Set Jumper อยู่บนตัวอุปกรณ์หรือหากไม่มีก็สามารถดูในคู่มือที่มากับฮาร์ดดิคส์ เพื่อให้เราสามารถ Set Jumper ให้ตรงตามที่กำหนด หลังจากนั้นนำสาย IDE และสายไฟมาต่อ ก็สามารถทำงานได้ หรือหากไม่ต้องการระบุเอง เราก็สามารถกำหนดให้เป็น CS หรือ Cable Select โดยจะเป็นการระบุที่ตัวของ Connector ของสาย IDE แทน หากอุปกรณ์ตัวใดต่ออยู่กับ Connecotr ที่เป็น Master อุปกรณ์ตัวนั้นก็จะกลายเป็น Master โดยอัตโนมัติ สำรับ SATA ไม่จำเป็นต้องกำหนด Jumper เพราะว่าฮาร์ดดิสค์หนึ่งตัวใช้ Port SATA 1 Port 

สำหรับสายของฮาร์ดดิสค์แบบ SATA นั้นจะเป็นสายเส้นเดียวที่ด้านหนึ่งจะเชื่อมต่อเข้ากับตัวเมนบอร์ด และปลายอีกด้านหนึ่งจะเชื่อมต่อเข้าที่ตัวฮาร์ดดิสค์แบบ SATA ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบนี้ก็คือความเป็นระเบียบเรียบร้อยของตัวสายอันเนื่องมาจากขนาดที่เล็กกว่าของสาย ทำให้การจัดวางสายใช้เนื่อที่ภายในเคสน้อย


                                                             USB/PS2



 PS2 คือ พอร์ตสื่อสารแบบอนุกรม (serial port) วันนี้จะขอพูดถึงอุปกรณ์ใกล้ตัว คือ Mouse ซึ่งที่เราเห็๋นกันทั่วไปตามร้านขาย
อุปกรณ์ไอที แบ่งเป็น 2 ชนิดหลัก คือ PS/2 และ USB Port
    สำหรับ Mouse ชนิด PS2 นั้นข้อดีคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านไม่จำเป็นต้องหา Driver ให้ตัวเมาส์ คือสามารถเสียบที่ช่องใส่
เมาส์เปิดเครื่องแล้วใช้ได้ทันที



Port ชนิด PS2 



Port ชนิด USB 




อุปกรณ์ต่อพ่วง 1 ชนิด


เมาส์ (Mouse) คืออะไร
Mouse
          Mouse เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลอย่างหนึ่งแต่ที่เห็นการทำงาน โดยทั่วไปจะเป็นตัวที่ใช้ควบคุมลูกศรให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพ เหมาะสำหรับใช้งานเมื่อต้องเลือก หรือเลื่อนวัตถุต่างๆ บนจอ Mouse ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้ 2 แบบ ได้แก่ 9 Pin, Serial Port และ PS/2 (Personal System Version2)

Mouse แบ่งได้เป็นสองแบบคือ
          1. แบบทางกล
          2. แบบใช้แสง

          1. แบบทางกล
          เป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้งกลม ที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี เมื่อเลื่อน Mouse ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้น ลูกกลิ้งจะทำให้กลไกซึ่งทำหน้าที่ปรับแกนหมุนในแกน X และแกน Y แล้วส่งผลไปเลื่อนตำแหน่งตัวชี้บนจอภาพ Mouse แบบทางกลนี้มีโครงสร้างที่ออกแบบได้ง่าย มีรูปร่างพอเหมาะมือ ส่วนลูกกลิ้งจะต้องออกแบบให้กลิ้งได้ง่ายและไม่ลื่นไถล สามารถควบคุมความเร็วได้อย่างต่อเนื่องสัมพันธ์ระหว่างทางเดินของMouseและจอ ภาพ
          Ball Mouse
          มีชนิดที่เป็น Ball อยู่ในแนวตั้งและแนวนอน Mouse แบบ Ball การใช้งานต้องเลื่อน Mouse ยังแกนต่างๆบนหน้าจอเพื่อเลือก หรือยกเลิกโปรแกรมที่ทำงานอยู่ ต่อมาได้พัฒนา Mouse ให้มี wheel เพื่อให้สะดวกในการใช้งานกับ Windows ตั้งแต่เวอร์ชัน 95 เป็นต้นมา ซึ่งช่วยในการเลื่อนหน้าต่าง Window ได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องเลื่อน Mouse เพียงแต่ใช้นิ้วขยับไปที่ wheel ขึ้นลงเท่านั้น


ball-mouse

          Wireless Mouse
          เป็น Mouse ที่มีการทำงานเหมือน Mouse ทั่วไปเพียงแต่ไม่มีการใช้สายไฟต่อออกมาจากตัว Mouse ซึ่ง Mouse ชนิดนี้จะมีตัวรับและตัวส่งสัญญาณซึ่งทางด้านตัวรับสัญญาณอาจจะเป็นหัวต่อ แบบ PS/2 หรือ แบบ USB ที่เรียกว่า Thumb USB receiver ซึ่งใช้ความถี่วิทยุอยู่ที่ 27MHz 


wireless-mouse

          Mouse สำหรับ Macintosh
          เป็น Mouse ที่ใช้เฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ Macintosh ซึ่งเป็น Mouse ที่ไม่มี wheel และปุ่มคลิ๊ก ก็ มีเพียงปุ่มเดียวแต่สามารถใช้งาน ได้ครอบคลุมทุกหน้าที่การทำงาน ซึ่งทางบริษัท Apple ออกแบบมาเพื่อใช้กับเครื่อง Macintosh เท่านั้น 


Mouse-Macintosh
          2. Mouse แบบใช้แสง
          อาศัยหลักการส่งแสงจาก Mouse ลงไปบนแผ่นรอง Mouse (mouse pad)


Optical-Mouse

          เป็น Mouse ชนิดใช้แสงซึ่งปัจจุบัน บริษัทผู้ผลิต Mouse ชนิดนี้ได้เพิ่มให้มีความสวยงามต่างๆกันไป เช่น ใส่แสงให้กับ wheel หรือไม่ก็ออกแบบให้มีแสงสว่างทั้งตัว Mouse แต่หน้าที่การทำงานก็ไม่เปลี่ยนแปลงไปจาก Ball Mouse

ที่มา

 http://www.adslcool.com/computer/viewrecord.php?id=77


วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ตรวจให้ด้วยน่ะค่ะ(Ketmanee)









                                               Harddisk(IDE,SATA)







Hard disk




รายละเอียดอยู่ในนี้นะ
http://www.adslcool.com/computer/viewrecord.php?id=77


เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ซึ่งมีมาตรฐานหลายแบบด้วยกัน Hard disk หรือ Hard drive เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการเก็บข้อมูลของ Operating system (OS) หรือ Windows นั่นเอง รวมถึงโปรแกรมใช้งานต่างๆและข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ หน่วยความจุของ Hard disk คิดเป็น Gigabyte หรือ GB ปัจจุบันตามท้องตลาดมี Hard disk อยู่สองรูปแบบ คือ รุ่นใหม่เรียกว่า Serial ATA หรือ SATA (บางคนอ่าน ?ซา-ต้า?) และอีกแบบที่มีขายอยู่ก่อนหน้านี้คือแบบ IDE ทั้งสองแบบใช้สายสัญญาณและสายไฟในการเชื่อมต่อที่แตกต่างกัน การเลือกใช้งานต้องตรวจสอบว่าเมนบอร์ดรองรับการทำงานกับฮาร์ดิสค์แบบใดด้วย เรามาดูกันว่าฮาร์ดดิสค์แต่ละแบบมีหน้าตาและรูปแบบการเชื่อมต่อกันอย่างไรบ้าง

IDE (Integrated Drive Electronics) 

แบบแรกคือ IDE เป็นแบบที่มีใชกันมานานมาก จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังหาซื้อมาใช้งานได้อยู่ มีความจุตั้งแต่ 40-500GB ส่วนประกอบที่จำเป็นมีสี่ส่วนด้วยกันคือ IDE Port ที่ตัวเมนบอร์ด, สายสัญญาณ 80 pin IDE, Power connector และตัว hard disk IDE นั่นเอง

Serial ATA (Advanced Technology Attachment) 

เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน PC Expo ใน New York ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากที่มีการนำเสนอ Parallel ATA (IDE) มากว่า 20 ปี รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆที่ทำให้การอ่านข้อมูลได้เร็วขึ้น และพัฒนาให้เกิดเทคโนโลยี Serial ATA ขึ้นมาแทนที่ฮาร์ดดิสค์แบบ IDE ซึ่งเจ้า Serial ATA มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ มีจำนวน pin น้อยกว่า Parallel ATA การเชื่อมก็จะคล้ายคลึงกับแบบ IDE จะต่างกันก็ตรงหน้าตาของ connector ของสายไฟและสายสัญญาณเท่านั้น 
เมื่อมองดูความแตกต่างทางด้านกายภาพแล้วเราจะเห็นได้ว่า hard disk แบบ IDE และ SATA จะมีการเชื่อมต่อที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงทั้งในเรื่องของ Connector ที่ตัวของ hard disk เองหรือไม่ว่าจะเป็นที่ตัวเมนบอร์ด รวมไปถึงสายสัญญาณและสายไฟที่ใช้ในการเชื่อมต่อด้วย ฉะนั้นหากต้องการซื้อ hard disk มาใช้งานก็ต้องสำรวจก่อนด้วยว่าเมนบอร์ดรองรับการเชื่องต่อกับ hard disk แบบใดด้วย
Connector ที่ตัวเมนบอร์ดของ Interface ทั้สองแบบก็จะมีรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันออกไป ตัว SATA จะกำหนดให้ 1 Connector สามารถต่อฮาร์ดดิสค์ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น ส่วน IDE นั่น 1 Connector เราสามารถเลือกเอาไปต่อฮาร์ดดิสค์หรือซีดีรอมหรือทั้งสองอย่างรวมกันแล้วไม่เกิน 2 ตัวได้ เมนบอร์ดสมัยใหม่ในปัจจุบันนิยมให้ Port SATA มาหลายอัน แต่มักจะให้ IDE มาแค่อันเดียว เพื่อสำหรับต่อ CD-ROM ซึ่งอาจมีปัญหาหาต้องต่อใช้งานรวมกับฮาร์ดดิสค์แบบ IDE ดังนั้นหากจะอัพเกรดเครื่องก็ต้องดูในส่วนนี้ด้วย
สายสัญญาณของฮาร์ดดิสค์แบบ IDE จะมีลักษณะเป็นสาย Parallel หรือที่เรียกกันติดปากว่า "สายแพร" ซึ่งสายแพรที่ว่านี้มีอยู่สองแบบด้วยกัน คือแบบ 40Pin หรือ 40 เส้น และ 80 Pin หรือ 80 เส้น โดยสายแบบ 40 pin นั้นจะนำไปใช้สำหรับ CD Driveและ DVD Drive ส่วน 80 Pin จะใช้กับฮาร์ดดิสค์ ไม่แนะนำให้ใช้งานสลับกัน แม้จะใช้งานได้ก็ตาม

อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้นว่า 1 Connector ของ IDE สามารถต่ออุปกรณ์แบบ IDE ได้สองตัว สายที่ใช้ต่อก็เลยออกแบบให้สามารถอุปกรณ์ได้สองตัวตามที่กำหนด โดยปลายข้างหนึ่งจะถูกเชื่อมต่อเข้าที่เมนบอร์ด (สีฟ้า) และ ที่เหลือจะเชื่อมต่อเข้าที่ตัวอุปกรณ์ IDE ซึ่งก็อาจจะเป็น CD-ROM หรือฮาร์ดดิสค์ก็ได้ โดยเราอาจะต่อเพียงแต่อุปกรณ์ IDE ตัวเดียวหรือสองตัวเพื่อใช้งานร่วมกันก็ได้ แต่มีข้อแม้อย่างหนึ่งว่า ไม่แนะนำให้ต่อ CD-ROM กับ ฮาร์ดดิสค์ ใช้งานร่วมกัน เพราะจะทำให้ความเร็วในการทำงานของฮาร์ดดิสค์ลดลง ควรต่ออุปกรณ์ IDE ชนิดเดียวกันไว้ด้วยกันเท่านั้น ในการเชื่อมต่อสาย เนื่องจากว่ามีอุปกรณ์ต่อร่วมกันอยู่กับสายเส้นเดียวกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดการทำงานของอุปกรณ์ออกเป็น Master และ Slave เพื่อระบุตัวอุปกรณ์สำหรับทำงาน ดังนั้นเวลาต่อสายเราต้องคำถึงด้วยว่าเราได้กำหนดให้อุปกรณ์ตัวใดเป็น Master และ Slave เพื่อให้อุปกรณ์สามารถทำงานได้ 
ฮาร์ดดิสค์แบบ IDE จำเป็นต้องการ Set Jumper เพื่อระบุการทำงานของอุปกรณ์ว่าเป็นแบบ Master หรือ Slave โดยปกติ จะมีการระบุรูปแบบของการ Set Jumper อยู่บนตัวอุปกรณ์หรือหากไม่มีก็สามารถดูในคู่มือที่มากับฮาร์ดดิคส์ เพื่อให้เราสามารถ Set Jumper ให้ตรงตามที่กำหนด หลังจากนั้นนำสาย IDE และสายไฟมาต่อ ก็สามารถทำงานได้ หรือหากไม่ต้องการระบุเอง เราก็สามารถกำหนดให้เป็น CS หรือ Cable Select โดยจะเป็นการระบุที่ตัวของ Connector ของสาย IDE แทน หากอุปกรณ์ตัวใดต่ออยู่กับ Connecotr ที่เป็น Master อุปกรณ์ตัวนั้นก็จะกลายเป็น Master โดยอัตโนมัติ สำรับ SATA ไม่จำเป็นต้องกำหนด Jumper เพราะว่าฮาร์ดดิสค์หนึ่งตัวใช้ Port SATA 1 Port 

สำหรับสายของฮาร์ดดิสค์แบบ SATA นั้นจะเป็นสายเส้นเดียวที่ด้านหนึ่งจะเชื่อมต่อเข้ากับตัวเมนบอร์ด และปลายอีกด้านหนึ่งจะเชื่อมต่อเข้าที่ตัวฮาร์ดดิสค์แบบ SATA ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบนี้ก็คือความเป็นระเบียบเรียบร้อยของตัวสายอันเนื่องมาจากขนาดที่เล็กกว่าของสาย ทำให้การจัดวางสายใช้เนื่อที่ภายในเคสน้อย





                                                             USB/PS2



 PS2 คือ พอร์ตสื่อสารแบบอนุกรม (serial port) วันนี้จะขอพูดถึงอุปกรณ์ใกล้ตัว คือ Mouse ซึ่งที่เราเห็๋นกันทั่วไปตามร้านขาย
อุปกรณ์ไอที แบ่งเป็น 2 ชนิดหลัก คือ PS/2 และ USB Port
    สำหรับ Mouse ชนิด PS2 นั้นข้อดีคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านไม่จำเป็นต้องหา Driver ให้ตัวเมาส์ คือสามารถเสียบที่ช่องใส่
เมาส์เปิดเครื่องแล้วใช้ได้ทันที



Port ชนิด PS2 



Port ชนิด USB 





อุปกรณ์ต่อพ่วง 1 ชนิด

1. เครื่องพิมพ์ชนิดต่าง ๆ (Printer)
               เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อทำหน้าที่ในการแปลผลลัพธ์ที่ได้จาก การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร ์ให้อยู่ในรูปของอักขระหรือรูปภาพที่จะไปปรากฏอยู่บนกระดาษ นับเป็นอุปกรณ์แสดลงผลที่นิยมใช้ เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
    1. เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot Matrix Printer)
                  เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์เป็นเครื่องพิมพ์ที่นนิยมใช้งานกันแพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากราคา และคุณภาพการพิมพ์อยู่ในระดับที่เหมาะสม การทำงานของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ใช้หลักการสร้างจุด ลงบน กระดาษโดยตรง หัวพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ มีลักษณะเป็นหัวเข็ม (pin) เมื่อต้องการพิมพ์สิ่งใดลงบนกระดาษ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งที่ประกอบกันเป็น ข้อมูลดังกล่าวจะยื่นลำหน้าหัวเข็มอื่น เพื่อไปกระแทกผ่านผ้าหมึก ลงบนกระดาษ ก็จะทำให้เกิดจุดขึ้น การพิมพ์แบบนี้จะมีเสียงดัง พอสมควร ความคมชัดของข้อมูลบน กระดาษขึ้นอยู่กับจำนวนจุด ถ้าจำนวนจุดยิ่งมากข้อมูลที่พิมพ์ลงบนกระดาษก็ยิ่งคมชัดมากขึ้น ความเร็ว ของเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์อยู่ระหว่าง 200 ถึง 300 ตัวอักษรต่อวินาที หรือประมาณ 1 ถึง 3 หน้าต่อนาที เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เหมาะสำหรับงานที่พิมพ์แบบฟอร์มที่ต้องการซ้อนแผ่นก๊อปปี้ หลาย ๆ ชั้น เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ ใช้กระดาษต่อเนื่องในการพิมพ์ ซึ่งกระดษาประเภทนี้จะมีรูข้างกระดาษทั้งสองเอาให้ หนามเตยของเครื่องพิมพ์เลื่อนกระดาษ




ที่มา